messager
info_outline ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของ เทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า 1. สภาพทั่วไป 1.1 ลักษณะที่ตั้ง เทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่จำนวน 4.2 ตารางกิโลเมตร เป็นชุมชน ท้องถิ่นที่เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า ระยะทางห่างจากจังหวัดเชียงรายประมาณ 91 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางเชียงใหม่ – เชียงราย ประมาณ 95 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านเด่นศาลา หมู่ที่ 3 ตำบลสันสลี ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหนองยาว หมู่ที่ 4 ตำบลเวียง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านโป่งหนอง หมู่ที่ 3 ตำบลเวียง ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำลาวและบ้านดงหล่ายหน้า หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง 1.2 ภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะชุมชนของเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้าเป็นชุมชนที่มีความหนาแน่นทอดยาวไปตามสองข้างทางหลวงสายเชียงราย – เชียงใหม่ ทั้งสองข้างริมถนนมีบ้านเรือน ร้านค้า อาคารพาณิชย์ ร้านอาหาร สถานประกอบการและสถานที่ราชการเรียงรายอยู่ค่อนข้างหนาแน่นและสภาพภายในเขตเทศบาลเป็นกลุ่มชุมชนหมู่บ้าน และไร่สวนบ้างเล็กน้อย สภาพบ้านเรือนมีทั้งบ้านเรือนไม้และอาคารคอนกรีตและมีซอยแยกจากถนนสายหลักเชียงราย – เชียงใหม่ แต่ละซอยยังมีถนนเชื่อมซอยแยกจากถนนสายหลักเชียงราย – เชียงใหม่ แต่ละซอยยังมีถนนเชื่อมซอยอีกจำนวนมากส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและสามารถสัญจรติดต่อได้สะดวกมีการวางผังเมืองไว้ได้ดีพอสมควร ปัจจุบันถนนสายเชียงราย – เชียงใหม่ เป็นเส้นทางคมนาคม และขนส่งที่สะดวกทำให้ประชาชนประกอบอาชีพค้าขายบริเวณสองข้างทางและรับจ้างมากขึ้น 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศเป็นเขตร้อนชื้น แบบมรสุมมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อุณหภูมิทั่วไปเฉลี่ย 25-30 องศาเซลเซียสในฤดูหนาวอากาศหนาวจัดมีหมอกปกคลุมเนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาส่วนในช่วงฤดูฝนของทุกปี จะมีน้ำป่าไหล่บ่าท่วมถนนบางจุด 1.4 ประชากร ประชากรตามสำมะโนประชากรจำนวนครัวเรือน 2,205 หลังคาเรือน ข้อมูลประชากร ณ เดือน เมษายน 2555 จำนวน 4,574 คน แยกเป็น ชาย 2,167 คน หญิง 2,407 คน รวมจำนวนครัวเรือน 2,205 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากร 1,110 คน ต่อตารางกิโลเมตร 2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.1 การคมนาคม / ขนส่ง การคมนาคมติดต่อระหว่างเทศบาล อำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมในเขตเทศบาลใช้เส้นทางการขนส่งทางบก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ก. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 จากเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้าไปจังหวัดเชียงราย ระยะทางประมาณ 91 กม. ข. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข118 จากเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้าไปจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 95 กม. ค. ถนนในเขตเทศบาลซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมในเขตเทศบาลส่วนใหญ่มีสภาพเป็นถนนคอนกรีต และลูกรังเป็นบางส่วน 2.2 ไฟฟ้า ระบบการจำหน่ายไฟฟ้าและการใช้บริการ อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเวียงป่าเป้าสามารถให้บริการไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลอย่างทั่วถึง แต่การบริการไฟฟ้าสาธารณะยังไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องขยายเขตไฟฟ้าสายดับเพิ่มมากขึ้น จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้คิดเป็นร้อยละ 99 2.3 การประปา ปัจจุบันการประปาส่วนภูมิภาคได้ขยายการให้บริการครอบคลุมมากกว่า 50 % แต่ยังคงมีประชาชนบางส่วนใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นและบ่อบาดาล บางส่วนใช้น้ำประปาหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 และในช่วงฤดูแล้งประชาชนที่ใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นจะประสบปัญหาน้ำใช้ไม่เพียงพอ 2.4 การสื่อสารและโทรคมนาคม ในพื้นที่เขตเทศบาลได้รับบริการการสื่อสารจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอเวียงป่าเป้า องค์การโทรศัพท์อำเภอเวียงป่าเป้า ข่ายวิทยุสื่อสารของเทศบาล ข่ายวิทยุสื่อสารของที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการใช้บริการเคเบิลทีวี จากบริษัทเอกชน การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมทั้งเขตเทศบาล 2.5 การจราจร เทศบาลประสานความร่วมมือกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอเวียงป่าเป้า เกี่ยวกับการจัดระบบจราจรในเขตเทศบาล โดยเทศบาลจัดงบประมาณในการจัดทำป้ายสัญญาณจราจร อุปกรณ์ต่างๆ ให้ประชาชนและผู้สัญจรไปมาได้มองเห็นชัดเจน สามารถลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ 2.6 การใช้ที่ดิน ได้มีการวางแผนการใช้ที่ดินให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสภาพความเจริญกับท้องถิ่น ทั้งนี้จะได้ประสานขอความร่วมมือจากสำนักผังเมืองจังหวัดเชียงราย เพื่อกำหนดผังเมืองรวมเขตเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า 3. ด้านเศรษฐกิจ 3.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ / รายได้ประชากร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้าง โดยมีรายได้ต่อหัวประชากรประมาณ 30,000 บาท/ คน / ปี 3.2 การพาณิชยกรรมและบริการ สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 2 แห่ง ตลาดสด จำนวน 2 แห่ง ร้านค้า จำนวน 140 แห่ง สถานประกอบการด้านบริการ โรงแรม จำนวน 2 แห่ง จำนวนห้องพักรวม 20 ห้อง ธนาคาร จำนวน 4 แห่ง สถานที่จำหน่ายอาหาร ตาม พ.ร.บ. สาธารณสุข 42 แห่ง 3.3 การเกษตรกรรม มีการประกอบการเกษตรกรรม ทำนา , เพาะเห็ดหอม, ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 3.4 การอุตสาหกรรม มีการประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อาทิ เช่น โรงงานผักดอง โรงงานทำน้ำแข็ง เป็นต้น 3.5 การท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอเวียงป่าเป้า ได้แก่ 1. โป่งน้ำร้อน อยู่ในท้องที่บ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 6 ต. แม่เจดีย์ใหม่ บนเส้นทางสายเชียงราย – เชียงใหม่ 2. โป่งน้ำร้อนแหล่งใหม่ อยู่ในท้องที่บ้านโป่งเทวี ต.บ้านโป่ง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า ประมาณ 7 กม. 3. ห้วยแม่โถ เป็นขุนน้ำบนยอดดอย แหล่งกำเนิดต้นน้ำแม่ลาว อยู่ในท้องที่หมู่ 8 บ้านแม่โถ ต.แม่เจดีย์ใหม่ ระยะทาง 8 กม. จากถนนสายเชียงราย – เชียงใหม่ 4. อ่างเก็บน้ำแม่ฉางข้าว เป็นอ่างเก็บน้ำ รพช. ขนาดใหญ่อยู่ในหุบเขา มีเรือนแพ ร้านอาหารและเป็นที่เพาะเลี้ยงปลา ระยะทาง 8 กม. จากแยกบ้านฮ่างต่ำ ถนนสายเชียงราย – เชียงใหม่ 5. เวียงกาหลง เป็นซากเมืองเก่าหรือค่ายโบราณ อยู่ในท้องที่บ้านป่าส้าน หมู่ที่ 6 ต.เวียงกาหลง ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ประมาณ 2 กม. ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอเวียงป่าเป้า อยู่นอกเขตเทศบาล 4. ด้านสังคม 4.1 เทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า มี 6 ชุมชน จำนวนครัวเรือน 2,125 หลังคาเรือน 1. ชุมชนหัวเวียง หมู่ที่ 1 ต. เวียง อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย 2. ชุมชนในเวียง หมู่ที่ 2 ต. เวียง อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย 3. ชุมชนเวียงสาม หมู่ที่ 3 ต. เวียง อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย 4. ชุมชนบ้านกู่ หมู่ที่ 6 ต. เวียง อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย 5. ชุมชนศรีเวียงทอง หมู่ที่ 10 ต. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย 6. ชุมชนสันติพัฒนา หมู่ที่ 11 ต. เวียง อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย 4.2 ศาสนา ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีการนับถือศาสนาคริสต์บางส่วน ศาสนสถาน จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย 1. วัดศรีสุทธาวาส 2. วัดป่าม่วง 3. วัดศรีคำเวียง 4. วัดศรีสุพรรณ 5. วัดป่าแดง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และศิลปวัฒนธรรม 1) ประเพณีสงกรานต์ 2) ประเพณีแห่เทียน 3) ประเพณีทอดกฐิน ผ้าป่าสามัคคี 4) ประเพณีลอยกระทง 5) ตักบาตรเป็งพุธ 6) ตักบาตรขึ้นปีใหม่ 7) ตักบาตรเทโว 8) สลากภัต 4.3 ด้านการศึกษา เทศบาลตำบลเวียงป่าเป้าร่วมกับชุมชนจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้าขึ้นในปีการศึกษา 2555 ปัจจุบันมีจำนวนเด็ก ดังนี้ – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 65 คน – ระดับอนุบาล จำนวน 100 คน – ระดับประถมศึกษา (ป.1) จำนวน 22 คน – โรงเรียนอนุบาลเวียงป่าเป้า – ก่อนประถม จำนวน 99 คน – ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 401 คน – โรงเรียนชุมชนบ้านกู่ (ป่าเป้าประชานุเคราะห์) – ก่อนประถมจำนวน 9 คน – ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 74 คน นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนที่ให้บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนในเขตเทศบาล โดยมีห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงป่าเป้า สำหรับให้เด็ก เยาวชน ตลอดจนถึงผู้สนใจได้ใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือจากห้องสมุดประชาชน 4.4 กีฬา นันทนาการ/ พักผ่อน มีสถานที่สำหรับการกีฬาและนันทนาการ/พักผ่อนในเขตเทศบาล ดังนี้ – ลานกีฬาต้านยาเสพติด จำนวน 6 แห่ง – สวนสาธารณะ จำนวน 1 แห่ง – สนามกีฬา จำนวน 2 แห่ง – สนามเด็กเล่น จำนวน 3 แห่ง 4.5 การสาธารณสุข มีการให้บริการสาธารณสุข โดยมีสถานพยาบาลในเขตเทศบาลดังนี้ – โรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล เตียงคนไข้จำนวน 60 เตียง – ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน – แห่ง – คลินิกเอกชน จำนวน 1 แห่ง – ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง – สถานพยาบาล จำนวน 2 แห่ง บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกสังกัดในเขตพื้นที่ – แพทย์ จำนวน 3 คน – เภสัชกร จำนวน 4 คน – พยาบาล จำนวน 49 คน – เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี จำนวน 1 คน – ทันตแพทย์ จำนวน 2 คน – นักวิชาการสาธารณสุข 1 คน – พนักงานอนามัย จำนวน – คน – เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 คน – อสม. 120 คน – อื่น ๆ 104 คน – ผู้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลสังกัด (จำนวนต่อปี) โรงพยาบาลรัฐบาล จำนวน 99,427 คน ผู้ป่วยใน 5,931 คน ผู้ป่วยนอก 93,496 คน – สาเหตุการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง อุบัติเหตุ 3,406 ราย/ปี สาเหตุอื่น 96,021 ราย/ปี ได้แก่ – โรคระบบย่อยอาหารรวมโรค – โรคระบบหายใจ – โรคกล้ามเนื้อ – โรคติดเชื้อ ฯลฯ – ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง อันดับที่ 1 โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า อันดับที่ 2 คลินิกเอกชน 4.6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย – สถิติเพลิงไหม้ในรอบปี 2555 ช่วยเหลือการปฏิบัติการในเขตจำนวน 5 ครั้ง เสียหายบางส่วน 2 หลังคาเรือน ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรเวียงป่าเป้าจำกัด , บ้านเรือนประชาชน – สถิติเพลิงไหม้ในรอบปี 2555 ช่วยเหลือการปฏิบัติการนอกเขต จำนวน 7 ครั้ง – ไม่มีการสูญเสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้าสามารถสกัดต้นเพลิงได้ทัน – สถิติเหตุอุทกภัยในรอบปี จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ ชุมชนหมู่ที่ 10,2,3,6,11 – สถิติเหตุวาตภัยในรอบปี จำนวน 1 ครั้ง เหตุเกิดชุมชนหมู่ 1,2,3,6,10,11 รวมผู้ประสบภัยครั้งที่ 1 จำนวน 43 หลังคาเรือน ทางเทศบาลได้ดำเนินการให้การช่วยเหลือในด้านกระเบื้องมุงหลังคา,ครอบ – รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 6 คัน แยกเป็น รถชนิดมีถังบรรทุกน้ำในตัว 4,000 ลิตร 1 คัน รถชนิดบรรทุกเครื่องดับเพลิงหาม 1 คัน รถยนต์ดับเพลิงอาคารชนิดมีถังน้ำในตัวขนาดความจุ 4,000 ลิตร รถบรรทุกน้ำขนาด 10,000 ลิตร จำนวน 2 คัน รถบรรทุกน้ำ ขนาด 5,000 ลิตร จำนวน 1 คัน พนักงานในการดับเพลิง จำนวน 10 คน แยกเป็น ผู้ปฏิบัติงานดับเพลิงขั้นต้น จำนวน 6 คน พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 2 คน พนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 1 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ป้องกัน จำนวน 1 คน 4.7 สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ สภาพอากาศเป็นเขตร้อนชื้น แบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว อุณหภูมิทั่วไปเฉลี่ย 25-30 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาว อากาศหนาวจัด มีหมอกปกคลุม เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา ส่วนในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะมีน้ำป่าไหลบ่าท่วมถนนบางจุด แหล่งน้ำ – สระน้ำเทศบาล ปริมาณน้ำรวม 10,000 ลบ.ม. – ฝายน้ำล้น หมู่ที่ 10 ตำบลเวียง ปริมาณน้ำรวม 20,000 ลบ.ม. – แม่น้ำลาว ไหลผ่าน หมู่ที่ 1, 2, 10 ตำบลเวียง ปริมาณน้ำรวม 20,000 ลบ.ม. 4.8 ด้านการเมือง – การบริหาร หน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 336 และพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2511 และ (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2542 1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน 2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ 3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ 5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง 6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม 7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ 8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 9. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล และเทศบาลอาจทำกิจการใด ๆ นอกเขตเทศบาล ได้ดังนี้ 1. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา 2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์ 3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือหรือท่าข้าม 4. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน 5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร 6. ให้มีและบำรุงสถานที่ ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ 7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 8. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ 9. เทศพาณิชย์ 4.8.1 การคลังเทศบาล – ประมาณการรายรับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวน 32,068,966 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จำนวน 38,843,000 บาท – ประมาณการรายจ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวน 32,068,966 บาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จำนวน 38,843,000 บาท 4.8.2 การมีส่วนร่วมของประชาชน – ในเขตเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า มีหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้าน มีผู้นำหมู่บ้าน ประชาคมหมู่บ้านประธานกลุ่มพัฒนาสตรี เป็นตัวแทนในหมู่บ้านมาประสานความร่วมมือในด้านต่างๆ กับเทศบาลให้ประสบผลสำเร็จ 4.8.3 การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต / ทรัพย์สิน และสวัสดิการของประชาชน มีการจัดแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตลอดจนการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง เตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากรในการดับเพลิง ซึ่งทางเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้าได้จัดส่งพนักงานดับเพลิงเข้ารับการอบรมเป็นประจำ 4.8.4 สถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง จำนวนผู้มีสิทธิทั้งสิ้น 3,620 คน ข้อมูลจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 4.8.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรน้ำ – มีแม่น้ำลาวไหลผ่าน ประชาชนสามารถใช้ในการเกษตร

× เทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า